วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

บทความ

บทความ สอนลูกเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติ
รุป

          การสอนเรื่องปรากฏการณ์ธรรมชาติมีความสำคัญอย่างไร
                  ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ (Natural phenomena) มีผลกระทบต่อชีวิตมนุษย์เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน เช่น การเกิดภาวะโลกร้อน วิกฤติการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ในปี พ.ศ. 2554 ซึ่งสภาวการณ์ดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการกระทำของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมและทำให้เกิดภาวะนั้นๆ เช่น มนุษย์ทำลายธรรมชาติ ตัดไม้ทำลายป่า แหล่งน้ำ บุกรุกผืนป่า ทำให้ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล Robert Craig ได้ให้แนวคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า “5 Craig’s Basic Concepts” ว่าทุกสิ่งในโลกนี้จะมีลักษณะสำคัญร่วม 5 ประการ คือ
  • ความเปลี่ยนแปลง (Change) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงควรให้เด็กเรียนถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ
  • ความหลากหลาย (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเรียนรู้ความเหมือนและความแตกต่างของสิ่งต่างๆ
  • การปรับตัว (Adjustment) ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรสอนให้เด็กได้สังเกตลักษณะของสิ่งนี้ เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ เป็นต้น
  • การพึ่งพาอาศัยกัน (Mutuality) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน เช่น นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้น ครูจึงต้องให้เด็กเห็นธรรมชาติของสิ่งนี้
  • ความสมดุล (Equilibrium) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิต และปรับตัวเพื่อให้ได้สมดุล และมีการผสานกลมกลืนกันเช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เป็นต้น เด็กควรมีความเข้าใจธรรมชาติของสิ่งนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้
  • คลิกลิงค์เพื่อดูบทความ
       
        


          

วิจัย

การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์
ด้วยแป้งโดว์กับลูกกลิ้งหลากหลาย
 
 
ของ มหาวิทยาลัยศรีนศรีนครินทรวิโรฒ
 
รวีวรรณ  สุวรรณเจริญ
 
 
 
 
          สรุป
 
               การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังจากการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยแป้งโดกับลูกกลิ้งหลายลายสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยหลังการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์ด้วยแป้งโดกับลูกหลิ้งหลายลายมีการแปลี่ยนแปลงสูงกว่าก่อนการัดกิจกรรม โดยด้านการอุปมาอุปไมยเป็นอันดับแรก ด้านรองลงมาด้านการจัดประเภท ด้านอนุกรมและด้านการจำแนกเป็นด้านสุดท้้าย

Thai Teachers TV

เรื่อง พ่อมดกอบวิทย์ สถานะของสาร
 
 
 
 
 
 
          เป็นสื่อการสอนที่ได้แนวคิดมาจากโทรทัศน์ค­รู ใช้สอนเด็กระดับชั้นอนุบาล2-ประถมฯ1 เพื่อเรียนด้านต่างๆ เช่น การบวก-ลบแบบง่ายๆ จำนวนคู่-คี่ การผสมคำ และยังสามารถปรับเนื้อหาเพื่อสอนด้านอื่นๆ­ได้อีกมากมาย
 
 
สรุป
 
       เป็นสื่อการสอนสำหรับเด็กอนุบาล ที่ดีมาก เป็นการฝึกทักษะการคิดทางวิทยาศาสตร์ที่ให้เด็กๆ ได้ฝึกหาเหตุผลสยับสนุนจากการคิดของเขา และเป็นกิจกรรมที่ง่ายไม่ยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์โดยหาได้ง่ายๆ เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 4 ธันวาคม 2557

                                                              เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
            
            ความรู้ที่ได้รับ
        
                      วันนี้เหลือเพื่อนที่ต้องนำเสนอวิจัยอีก 1 คน ชื่่อวิจัย  การส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์การลงสรุปสำหรับเด็กปฐมวัย  (The promotion of science and the conclusion for children)   เสร็จจากการนำเสนอวิจัยแล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เพื่อทำแผ่นพับเพื่อการประชาสัมพันธ์ชี้แจงการสอน

          รายละเอียดแผ่นพับ

                  -  หน้าปก 
                  -  เกมเกี่ยวกับหน่วยที่สอน
                  -  ข่าวประชาสัมพันธ์ และสาระการเรียนรู้ต่างๆ 



           การนำไปประยุกต์ใช้

              - สามารถวิธีการทำแผ่นพับที่ถูกต้อง ไปปรับใช้ได้ในอนาคต
              - สามารถนำเนื้อหาที่น่าสนใจ และเกมทางวิทยาศาสตร์ต่างๆ เข้าไปแทรกได้
              - สามารถนำไปเป็นสื่อประกอบการประชาสัมพันธ์ในงานต่างๆ ได้ดี

           การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 80% ตั้งใจทำแผ่นพับ ช่วยเพื่อนคิดเกมและรายละเอียดลงในแผ่นพับ
        เพื่อน       --> 85% เพื่อนๆ ตั้งใจกันทำแผ่นพับ และมีความสุขในการทำกิจกรรมในห้องเรียน
        อาจารย์    --> 95%  พูดเสริมและคอยต่อยอดเพื่อให้เนื้อหาในแผ่นพับออกมาสมบูรณ์ที่สุดค่ะ



        
                

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2557

  เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

        ความรู้ที่ได้รับ

             วิจัยที่นำเสนอ
              
                    1)  การสร้างชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
                    2)  ผลการจัดประสบการณ์หน่วยเน้นวิทยาศาสตร์นอกชั้นเรียนที่มีต่อทักษะการสังเกตของ                            
                         เด็กปฐมวัย
                    3)  การคิดเชิงเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
                    4)  ผลของกิจกรรมการทดลองที่มีต่อทักษะวิทยาศาสตร์ด้านการสังเกตและการจำแนกของ
                         เด็กปฐมวัย
          
             โทรครูที่นำเสนอ
              
                    1)  จุดประกายนักวิทยาศาสตร์น้อย ตอนเสียงมาจากไหน
                    2)  สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
                    3)  เรียนวิทยาศาสตร์สนุก
                    4)  กิจกรรมเรือสะเทินน้ำ สะเทินบก
                    5)  สัปดาห์วิทยาศาสตร์
                    6)  ขวดปั๊มและลิปเทียน
                    7)  สื่อแสงแสนสนุก
                    8)  วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ตอนพลังจิตคิดไม่ซื่อ
                    9)  ทะเลฟองสีรุ้ง
                  10)  สาดสีสุดสนุก
                  11)  ทอนาโดมหาภัย
                  12)  ไข่ไก่ในน้ำ
                  13)  ความลับของใบบัว
                    

 การนำไปประยุกต์ใช้

              - สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
              - นำเทคนิคที่อาจารย์แนะนำไปปรับใช้ได้ในอนาคต
              - การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 80% ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ
        เพื่อน       --> 85%  ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้
        อาจารย์    --> 95%  พูดเสริมและต่อยอดงานวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน              

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

             ความรู้ที่ได้รับ 

                          วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคน นำของเล่นที่ตนเองประดิษฐ์มาส่งหน้าห้องพร้อมบอกว่าของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์อย่างไรค่ะ



ภาพของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ค่ะ

              พอเสร็จจากการส่งของเล่นทางวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 8 คน จากนั้นอาจารย์ให้ตัวแทนกลุ่มไปหยิบอุปกรณ์การทำวอฟเฟิลมากลุ่มละ 1 ชุด ค่ะ

       อุปกรณ์การทำวอฟเฟิล

        1)   แป้ง  (Flour)

        2)   เนย  (Butter)

        3)   ไข่ไก่   (Egg)

       4)   ถ้วย   (Cup)

       5)   จาน   (Stove)

       6)   ช้อน   (Spoon)

       7)   ที่ตีไข่   (Whisk)

       8)   เครื่องทำวอฟเฟิล  

ภาพอุปกรณ์





      วิธีทำวอฟเฟิล

        1)  นำแป้งสำหรับทำวอฟเฟิล ไข่ไก่ และนำ ผสมลงไปในถ้วยจากนั้นตีให้เข้ากัน

        2)  ใส่เนยลงไปเสร็จแล้วตีให้เข้ากัน

        3)  เมื่อส่วนผสมเข้ากันดีแล้ว ตักแบ่งใส่ถ้วยเล็ก

        4)  จากนั้นรอเครื่องทำวอฟเฟิลร้อน ทาเนยลงไปที่เครื่องแล้วเทวอฟเฟิลที่แบ่งใส่ถ้วยเล็กลงไป

        5)  รอจนไฟจากสีแดงเปลี่ยนเป็นสีเขียว นั้นหมายถึงวอฟเฟิลสุขเข้าที่แล้ว

        6)  นำวอฟเฟิลขึ้นมาใส่จาน พร้อมรับประทาน


      การนำไปประยุกต์ใช้

           - สามารถนำการทำวอฟเฟิลไปใช้สอนในอนาคตได้
           - สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของการทำวอฟเฟิลไปแนะนำให้เด็กๆ รู้ได้ในอนาคต
           
การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 90% สนใจในกิจกรรมที่อาจารย์นำมาสอนในห้องเรียน ช่วยเพื่อนทำกิจกรรมจนเสร็จ
        เพื่อน       --> 85%  สนใจและมีความตั้งใจกันทำกิจกรรม มีความสุขและยิ้มแย้มในการทำกิจกรรม
        อาจารย์    --> 95%  คอยแนะนำและวิธีการทำระหว่างการทำกิจกรรม


วันพฤหัสบดีที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำราญ

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2557

                                                             เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

ความรู้ที่ได้รับ

               วันนี้เพื่อนๆ ออกมานำเสนองานวิจัยของตนเอง ทั้งหมด 7 คน ดังนี้
 
        วิจัยที่ 1  การส่งเสริมทักษะการสังเกตโดยใช้กิจกรรมเกมการศึกษาของนักเรียนระดับอนุบาล 1/3
        วิจัยที่ 2  ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
        วิจัยที่ 3  การศึกษาผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเด็กนักวิจัยที่มีผลต่อกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
        วิจัยที่ 4  ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องสีจากธรรมชาติที่มีต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
        วิจัยที่ 5  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับจากกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์แบบเน้นกระบวนการ
        วิจัยที่ 6  การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมทางวิทยาศาสตร์
        วิจัยที่ 7  การคิดอย่างมีเหตุผลของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปสร้างสรรค์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์

  การนำไปประยุกต์ใช้

              - สามารถนำวิจัยที่เพื่อนนำเสนอไปปรับใช้ในงานของตนเองได้
              - สามารถนำเครื่องมือต่างๆ ของงานวิจัยไปใช้สอนกับเด็กได้
              - การทำงานวิจัยนั้น ทำเพื่อให้รู้ถึงปัญหาและสามารถแก้ปัญหาของเด็กได้

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 80% ตั้งใจฟังเพื่อนๆ นำเสนองานวิจัย และจดบันทึกรายละเอียดงานวิจัยของเพื่อนๆ
        เพื่อน       --> 85%  ตั้งใจฟังเพื่อนๆ คนอื่นนำเสนองานวิจัย และช่วยกันตอบคำถามได้
        อาจารย์    --> 95%  พูดเสริมและต่อยอดงานวิจัยที่เพื่อนนำมาเสนอเพื่อให้งานวิจัยออกมาสมบูรณ์