วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 16 ตุลาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

      ความรู้ที่ได้รับ
                วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอเพื่อนๆ ในห้องและพูดถึงหลังวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ที่ได้จากของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ทำให้รู้อะไรได้อย่างๆ อย่างทั้งของเล่นเก่าที่เคยเล่นมา หรือของเล่นใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

    ตัวอย่าง สื่อที่เพื่อนนำมาเสนอ
           1.  ไก่กระต๊าก                >  การสั่นสะเทือน
           2.  ขวดผิวปาก               >  ใช้แรงลมทำให้เกิดเสียง
           3.  กระป๋องโยกเยก         >  แรงโน้มถ่วง
           4.  กังหันลม                  >  พลังงานลมทำให้เกิดการหมุนของกังหัน
           5.  สปิงเกอร์                  >  แรงดันน้ำ
           6.  หลอดหมุนได้            >  แรงลมทำให้หลอดหมุนได้
           7.  ตุ๊กตาล้มลุก              >  จุดศูนย์ถ่วง
           8.  น้ำเปลี่ยนสี               >  กลวิทยาศาสตร์ เกิดจากการแทนที่ของน้ำทำให้น้ำที่มีอยู่ไหล
                                                 ออกมา    
           9.  แมงกะพรุน               >  สิ่งของในน้ำมีความหนาแน่น มากและน้อย
         10.  เครื่องร่อน                >  แรงลม

    สื่อที่ดิฉันทำมา นำเสนอเพื่อนๆ 
แมงกะพรุน


หลักทางวิทยาศาสตร์

            เหตุที่วัตถุที่ลอยน้ำได้ต้องจมน้ำบางส่วนเนื่องจาก ส่วนที่จมของวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ แต่ที่ไม่จมทั้งหมดเพราะส่วนที่เหลือมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้มันมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็พิจารณาจากความหนาแน่นมีค่า เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร (ในทางฟิสิกส์เราเรียกมวลแทนน้ำหนักที่ชั่งได้ในชีวิตประจำวันเพราะมีหน่วย เป็นกิโลกรัม แต่น้ำหนักในทางฟิสิกส์มีหน่วยเป็นนิวตัน) ส่วนที่จมมีอัตราส่วนดังกล่าวมากกว่าความหนาแน่นของน้ำมันก็จมน้ำ 


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
        -  อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 99% เรียนรู้จากสิ่งประดิษฐ์จากเพื่อน และหลักทางวิทยาศาสตร์จากอาจารย์ได้
                                    อย่างชัดเจน
        เพื่อน       --> 85%  เพื่อนๆ นำสิ่งประดิษฐ์มานำเสนอทุกคน ช่วยกันตอบคำถามจากเพื่อนและ
                                    อาจารย์
        อาจารย์    --> 95%  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมของหลักทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละชิ้นที่เพื่อนๆ
                                    นำมาเสนอได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
 
 

วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 9 ตุลาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.


** วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจาก เป็นสัปดาห์ของการสอบกลางภาคเรียน 1/2557 

 

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 2 ตุลาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
      ความรู้ที่ได้รับ
             
                วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์ โดยอาจารย์ให้เตรียมแกนกระดาษชิชชูมา เพื่อนำมาประดิษฐ์ในวันนี้ 
   
    อุปกรณ์
         -  แกนกระดาษชิชชู(Tissue cores)
         -  กรรไกร (Scissors)
         -  ไหมพรม (Yam)
         -  กระดาษเปล่า (Peper)
         -  ดินสอ หรือ สี (Pencil)
         -  กาว (Glue)
         -  ตาไก่เจาะกระดาษ (The punch)

   วิธีการทำ
        -  นำแกนทิชชูมาตัดครึ่ง
        -  แล้วใช้ตาไก่เจาะกระดาษนำมาเจาะ ทั้งสองด้านของแกนทิชชูโดยเจาะปากแกนทิชชู
        -  จากนั้นใช้ไหมพรม ร้อยรูที่เจาะไว้ ทั้งสองรูแล้วมัดปมปลายไหมพรม เพื่อทำมาคล้องคอได้
        -  ใช้กระดาษวาดภาพ โดยตัดกระดาษให้เท่ากับปากแกนทิชชู แล้ววาดรูปอะไรก็ได้ แล้วมามา   
            แปะไว้ตรงกลางแกน
        -  เสร็จแล้วนำมาคล้องคอ แล้วเล่นได้เรย

  วิธีการเล่น
           นำมาคล้องคอ แล้วจับไหมพรมไว้ทั้งสองเส้นจากนั้นดึงขึ้นลงสลับกัน จะเห็นว่าแกนกระดาษทิชชูจะวิ่งขึ้น ถ้าเราดึงเชือกโดยอยู่ห่างกัน แล้วแกนทิชชูจะวิ่งลงเมื่อเราดึงเชือกใกล้กัน
       
เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
        -  อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 80%  แต่งกายเรียบร้อย นำอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง
        เพื่อน       --> 85%  เพื่อนๆ นำอุปกรณ์มาครบทุกคน ตั้งใจกันทำของเล่นกัน
        อาจารย์    --> 95%  อาจารย์แจ้งให้เตรียมอุปกรณ์มา โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
                                    อาจารย์สอนเข้าใจง่าย

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 6

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 25 กันยายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
    ความรู้ที่ได้รับ
             
                วันนี้อาจารย์แจกกระดาษใบเล็กๆ คนละ 1 ใบ เพราะอาจารย์จะให้ทำของเล่นวิทยาศาสตร์ คือนำไปโยนแล้วมันจะร่อนลงมา 

   อุปกรณ์ 
            -  กรรไกร (Scissors)
            -  คลิปหนีบกระดาษ (Paperciip)
            -  กระดาษหน้าปก (Paper)
  
  วิธีการทำ
            -  นำกระดาษที่ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามาพับครึ่ง
            -  จากนั้นใช้กรรไกรตัดกระดาษตรงกลาง ครึ่งใดครึ่งหนึ่ง โดยตัดให้ชนขอบรอยพับ
            -  กางกระดาษที่ตัด ออกไปทั้งสองด้านสลับกัน
            -  พับกระดาษส่วนที่ไม่ได้ตัด 2-3 ทบ แล้วใช้คลิปหนีบกระดาษ หนีบไว้เพื่อเป็นที่จับ

  วิธีการเล่น
            นำของเล่นมาโยนขึ้นท้องฟ้า จะเห็นว่าของเล่นจะตกลงมาตามรอยตัด ถ้าเราตัดลึกของเล่นก็จะอยู่บนอากาศได้นานกว่าตัดนิดเดียว

   
            เมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมการประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์แล้ว อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มนำ Mind map ที่แต่ละกลุ่มสรุปมา นำมาติดไว้ตามผนังห้อง เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และติชม ของแต่ละกลุ่ม


   เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
            -  อุปกรณ์เพื่อนำมาประดิษฐ์ของเล่นวิทยาศาสตร์
            -  บทความที่เพื่อนนำมาเสนอหน้าห้อง

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 75%  แต่งกายเรียบร้อย ทำงานที่อาจารย์สั่งทุกครั้ง ช่วยตอบคำถาม
        เพื่อน       --> 85%  เพื่อนๆ ตั้งใจกันทำของเล่น ตั้งใจฟังที่อาจารย์สอน
        อาจารย์    --> 95%  อาจารย์แนะนำวิธีการประดิษฐ์และวิธีการสอน และยังให้ข้อมูลที่ชัดเจน    
                                    เข้าใจง่าย

วันอาทิตย์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทินครังที่ 5

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 18 กันยายน 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.
          ความรู้ที่ได้รับ
                  
                    วันนี้อาจารย์ให้ทำกิจกรรม โดยอาจารย์แจกกระดาษเศษ 1 ส่วน 4 ของกระดาษ A4 โดยอาจารย์ให้ทำการประดิษฐ์ของเล่นเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์

อุปกรณ์ในการประดิษฐ์
       1. กระดาษสี เศษ 1 ส่วน 4 ของ A4
       2. กรรไกร
       3. เทปกาว
       4. ไม้เสียบลูกชิ้น 1 อัน
       5. ดินสอ หรือ สี

วิธีการทำ
       1.  พับกระดาษแบ่งครึ่งเท่าๆ กัน
       2.  วาดรูปอะไรก็ได้หน้าและหลังกระดาษ โดยภาพต้องสัมพันธ์กัน
       3. นำไม้เสียบลูกชิ้น ติดด้านในกระดาษโดยให้เทปกาวติดให้แน่น
       4. นำเทปกาวติดขอบกระดาษให้ติดกัน
       
วิธีการเล่น

        นำของเล่นมาหมุนโดยจับตรงไม้เสียบลูกชิ้น จากนั้นหมุนไวๆ จะเห็นว่า ภาพทั้งสองด้านเหมือนเป็นภาพเดียวกัน

เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
        -  อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 80%  แต่งกายเรียบร้อย นำอุปกรณ์มาตามที่อาจารย์สั่ง
        เพื่อน       --> 85%  เพื่อนๆ นำอุปกรณ์มาครบทุกคน ตั้งใจกันทำของเล่นกัน
        อาจารย์    --> 95%  อาจารย์แจ้งให้เตรียมอุปกรณ์มา โดยแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
                                    อาจารย์สอนเข้าใจง่าย