วันพฤหัสบดีที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

วิชา การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ จินตนา  สุขสำรคาญ

วันที่ 16 ตุลาคม 2557

เวลาเรียน 08.30 - 12.20 น.

      ความรู้ที่ได้รับ
                วันนี้อาจารย์ให้ทำของเล่นทางวิทยาศาสตร์มานำเสนอเพื่อนๆ ในห้องและพูดถึงหลังวิทยาศาสตร์ ซึ่งความรู้ที่ได้จากของเล่นทางวิทยาศาสตร์ของเพื่อนๆ ทำให้รู้อะไรได้อย่างๆ อย่างทั้งของเล่นเก่าที่เคยเล่นมา หรือของเล่นใหม่ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน

    ตัวอย่าง สื่อที่เพื่อนนำมาเสนอ
           1.  ไก่กระต๊าก                >  การสั่นสะเทือน
           2.  ขวดผิวปาก               >  ใช้แรงลมทำให้เกิดเสียง
           3.  กระป๋องโยกเยก         >  แรงโน้มถ่วง
           4.  กังหันลม                  >  พลังงานลมทำให้เกิดการหมุนของกังหัน
           5.  สปิงเกอร์                  >  แรงดันน้ำ
           6.  หลอดหมุนได้            >  แรงลมทำให้หลอดหมุนได้
           7.  ตุ๊กตาล้มลุก              >  จุดศูนย์ถ่วง
           8.  น้ำเปลี่ยนสี               >  กลวิทยาศาสตร์ เกิดจากการแทนที่ของน้ำทำให้น้ำที่มีอยู่ไหล
                                                 ออกมา    
           9.  แมงกะพรุน               >  สิ่งของในน้ำมีความหนาแน่น มากและน้อย
         10.  เครื่องร่อน                >  แรงลม

    สื่อที่ดิฉันทำมา นำเสนอเพื่อนๆ 
แมงกะพรุน


หลักทางวิทยาศาสตร์

            เหตุที่วัตถุที่ลอยน้ำได้ต้องจมน้ำบางส่วนเนื่องจาก ส่วนที่จมของวัตถุนั้นมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำ แต่ที่ไม่จมทั้งหมดเพราะส่วนที่เหลือมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำนั่นเอง ส่วนสาเหตุที่ทำให้มันมีความหนาแน่นมากกว่าน้ำก็พิจารณาจากความหนาแน่นมีค่า เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลต่อปริมาตร (ในทางฟิสิกส์เราเรียกมวลแทนน้ำหนักที่ชั่งได้ในชีวิตประจำวันเพราะมีหน่วย เป็นกิโลกรัม แต่น้ำหนักในทางฟิสิกส์มีหน่วยเป็นนิวตัน) ส่วนที่จมมีอัตราส่วนดังกล่าวมากกว่าความหนาแน่นของน้ำมันก็จมน้ำ 


เทคนิควิธีการสอนของอาจารย์
        -  อาจารย์ใช้สิ่งประดิษฐ์มาเป็นสื่อในการสอน

การประเมินผล 

        ตนเอง      --> 99% เรียนรู้จากสิ่งประดิษฐ์จากเพื่อน และหลักทางวิทยาศาสตร์จากอาจารย์ได้
                                    อย่างชัดเจน
        เพื่อน       --> 85%  เพื่อนๆ นำสิ่งประดิษฐ์มานำเสนอทุกคน ช่วยกันตอบคำถามจากเพื่อนและ
                                    อาจารย์
        อาจารย์    --> 95%  อาจารย์อธิบายเพิ่มเติมของหลักทางวิทยาศาสตร์ของแต่ละชิ้นที่เพื่อนๆ
                                    นำมาเสนอได้อย่างชัดเจน และเข้าใจได้ง่าย
 
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น